มีชาวไร่คนหนึ่งได้เลี้ยงเเกะเเละเเพะไว้หลายตัว นอกจากนี้ยังเลี้ยงวัว เพื่อเอาไว้ใช้ไถนาอยู่ตัวหนึ่ง และยังเลี้ยงสุนัขไว้อีก 3 ตัวเพื่อไว้เฝ้าบ้าน
ครั้นถึงในฤดูหนาวปีหนึ่ง ปีนั้นมีหิมะตกหนักตลอดเวลาจนทำให้ชาวไร่ไม่สามารถที่จะออกจากบ้านไปไหนได้เลย
และแล้วเมื่อเสบียงหมดลง เขาจึงได้ฆ่าเเกะเเละเเพะเพื่อที่จะกินเป็นอาหาร
เดือนต่อมาชาวนาก็ได้ฆ่าวัวกินเป็นอาหารเพื่อประทังชีวิต
สุนัขเฝ้าบ้านทั้ง 3 จึงปรึกษากันอย่างร้อนใจว่า
“เเม้เเต่วัวที่เลี้ยงเขาเลี้ยงเอาไว้ไถนาเขาก็ยังฆ่ากินเลย ต่อไปคงต้องเป็นคราวของเราเเน่ๆ พวกเราจะอยู่ที่นี่ต่อไปหรือจะหาทางหนีไปจากที่นี่กันดีล่ะ”

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
เมื่อเห็นภัยเกิดเเก่คนใกล้ตัว ก็ควรหาทางระวังตังเองด้วย


 หัวล้านคลื่นครู




ทิดทอง กับ ทิดถม เป็นเพื่อนรักกัน ร่ำเรียนหนังสือตำรับตำราด้วยกันตั้งแต่ครั้งยังเป็นเด็ก ถึงฐานะของทั้งสองจะแตกต่างกัน แต่ทั้งสองก็ไม่ได้มีรังเกียจเดียดฉันท์กันเลย เมื่อทั้งสองบวชเรียนด้วยกันจนกระทั้งสึกออกมา ทั้งสองก็ช่วยเหลือพ่อแม่ประกอบกิจการงานอาชีพด้วยความขยันขันแข็งวันหนึ่งมีได้พ่อค้าเร่ขายนำน้ำมันใส่ผมมาขายถึงในหมู่บ้าน ทิดทองกับทิดถมไม่รู้เรื่องอะไร จึงได้ซื้อมาใช้คนละขวด เวลาต่อมาไม่นานผมของทั้งสองก็ร่วงออกๆ จนกลายเป็นคนหัวล้านไปซะทั้งคู่ ทั้งสองรู้สึกอับอายเป็นอันมาก ไม่อยากที่จะออกไปไหน กินก็ไม่ได้นอนก็ไม่หลับชาวบ้านรู้เรื่องนั้นเข้าก็แกล้งอำๆ ว่าถ้าเอาไอ้นั่น ไอ้นี่มาทา ผมก็จะออกมาดังเดิม เช่น บอกให้เอา หนวดเต่า เขากระต่าย น้ำลายยุง หรือแม้กระทั่ง ขี้ไก่โป่(อ้วก…!!!!) มาทา ทั้งสองก็หลงเชื่อ กลายเป็นที่ขำขันของชาวบ้านทั้งหมู่บ้านจนทั้สองต้องไปพึ่งโยคีที่อยู่กลางป่า โยคีบอกว่าให้ไปดำน้ำในสระน้ำข้างอาศรม 3 ครั้ง ผมก็จะงอกออกมาทั่วทั้งหัวเหมือนดังเดิม ทั้งสองจึงทำตาม ดำครั้งแรกโผล่หัวขึ้นมาผมก็ขึ้นมานิดหน่อย ครั้งที่ 2 ก็มีผมออกมาพอประมาณ ครั้ง 3 ผมนั้นเต็มหัวยาวประมาณ 3-4 เซนฯ แต่ทั้งสองมีแผลเป็นกลางหัว  เนื้อตายไปแล้วผมจึงขึ้นไม่ได้ แทนที่จะไปปรึกษากับโยคี ทั้งสองได้ปรึกษากันเองว่า หากดำครั้งที่ 4 ผมจะต้องขึ้นเป็นแน่ จึงดำน้ำลงไปอีกครั้ง แต่ทว่าเมื่อโผล่หัวขึ้นมา กลับกลายเป็นคนหัวล้านกบาลใสเช่นดังเดิม คราวนี้แม้แต่โยคีก็ช่วยอะไรไม่ได้แล้ว ทั้งสองร้องได้แต่ไห้โวยวาย และเดินก้มหัวกลับบ้านด้วยความผิดหวังนี่แหละ ที่มาของคำว่าหัวล้านหลื่อครูข้อคิด- อย่าหลื่นคำผู้ใหญ่บอก ผู้ใหญ่สอน บอกคำไหนต้องคำนั้น- เราเกิดบนแผ่นดินเดียวกัน รักกันไว้แหละดี



                                                   เด็กเลี้ยงเเกะ



วันหนึ่งเด็กเลี้ยงเเกะคิดหาเรื่องสนุกๆ เล่น จึงเเกล้งร้องตะโกน ขึ้นมาว่า

"ช่วยด้วย! หมาป่ามากินลูกเเกะเเล้ว ช่วยด้วยจ้า ! "

พวกชาวบ้านจึงพากันวิ่งมาช่วยพร้อมด้วยอาวุธต่างๆ เเต่เมื่อมาถึงก็ไม่พบหมาป่าสักตัว

"มันวิ่งไปทางโน้นเเล้วล่ะ"

เด็กเลี้ยงเเกะโป้ปดเเล้วก็เเอบหัวเราะชอบใจภายหลัง

ต่อจากนั้นเด็กเลี้ยงเเกะก็เเกล้งหลอกให้ชาวบ้านวิ่งหน้าตื่น เช่นเดิมได้อีก ๒- ๓ ครั้ง

จนกระทั่งวันหนึ่งมีหมาป่ามาไล่กินเเกะจริงๆ คราวนี้เด็กเลี้ยงเเกะ ตะโกนขอความช่วยเหลือจนคอเเหบ คอเเห้ง พวกชาวบ้านก็ไม่มาเพราะคิดว่าเด็กหลอก 


นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า "คนที่มักโป้ปดมดเท็จ เมื่อถึงคราวพูดจริงก็ยากที่จะมีใครเชื่อ



                                              ไก่ฟ้ากับสุนัขจิ้งจอกเจ้าเล่ห์



สุนัขจิ้งจอกเจ้าเล่ห์ตัวหนึ่งเดินผ่านมาเห็นไก่ฟ้าเกาะอยู่บนกิ่งไม้ สูงข้างทาง

มันอยากจะกินไก่ฟ้าเป็นยิ่งนักจึงคิดหาอุบายเเล้วเอ่ยขึ้นว่า

"ไก่ฟ้าเอ๋ย ท่านช่างเป็นสัตว์ที่งดงามนัก ปีกของท่านมีสีสัน สดใสหลายสี ปากก็งดงามไม่เหมือนใคร อยากรู้จังว่าถ้าท่าน หลับตา เเล้วยังจะงามอยู่หรือไม่"

ไก่ฟ้าได้ฟังคำยกยอก็หลงเคลิบเคลิ้ม รีบหลับตาอวดทันที

สุนัขจิ้งจอกก็รีบฉวยโอกาสนั้นกระโดดงับตัวไก่ฟ้าไว้ได้

เมื่อไก่ฟ้าพลาดท่า เเต่ก็ยังมีสติ จึงเอ่ยขึ้นว่า

"จิ้งจอกเอ๋ย ก่อนตายข้าอยากฟังเสียงอันไพเราะของท่าน อีกครั้งได้ไหม"

สุนัขจิ้งจอกได้ฟังคำป้อยอก็หลงกล รีบอ้าปากเห่าคำราม ไก่ฟ้าจึงรีบบินหนีจากไปทันที 


นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า "คำยกยอปอปั้นทำให้คนหลงเคลิบเคลิ้มจนไม่ระวังตนได้เสมอ